ประวัติคนหางาน
ตำแหน่งงานที่ต้องการ :
ครูสังคมศึกษา  
ประเภทของงาน :
งานประจำ  
เงินเดือนที่ต้องการ :
15,000  
สถานที่ต้องการทำงาน
ภาค :
xxxx  
จังหวัด :
xxxx  
เขต/อำเภอ :
xxxx  
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อ :
xxxx 
นามสกุล :
xxxx 
เพศ :
ชาย  
วัน/เดือน/ปีเกิด :
22-มิถุนายน-2534  
อายุ :
32  
สัญชาติ :
xxxx 
เชื้อชาติ :
xxxx 
ศาสนา :
xxxx  
ส่วนสูง :
xxxx 
น้ำหนัก :
xxxx 
ตำหนิ :
xxxx 
กรุ๊ปเลือด :
xxxx 
สถานที่เกิด :
xxxx 
โรคประจำตัว :
xxxx  
สถานะความเป็นอยู่ :
xxxx 
สถานะครอบครัว :
xxxx 
สถานะทางทหาร :
xxxx 
ที่อยู่ปัจจุบันที่ติดต่อได้สะดวก
ที่อยู่ :
xxxx  
แขวง/ตำบล :
xxxx  
เขต/อำเภอ :
xxxx  
จังหวัด :
xxxx  
รหัสไปรษณีย์ :
xxxx 
เบอร์โทรศัพท์บ้าน :
xxxx  
เบอร์มือถือ :
xxxx  
E-mail :
xxxx
ประวัติการศึกษา
ระดับการศึกษาสูงสุด :
ปริญญาโท  
ชื่อสถาบันสูงสุด :
xxxx 
สาขา :
รัฐประศาสนศาสตร์ 
วิชาเอก :
บริหารงานยุติธรรมทางอาญา 
เกรดเฉลี่ย :
3.43 
ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
ไม่มี  
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ไม่มี  
ระดับ ชื่อสถาบัน จังหวัด ประเทศ ปีการศึกษา วุฒิที่ได้รับ
xxx  xxx  xxx  xxx  xxx  xxx 
xxx  xxx  xxx  xxx  xxx  xxx 
xxx  xxx  xxx  xxx  xxx  xxx 
ความสามารถทางด้านภาษา
ภาษา
พูด
เข้าใจ
อ่าน
เขียน
ไทย
ดีมาก 
ดีมาก 
ดีมาก 
ดีมาก  
อังกฤษ
ดี  
ดี  
ดี  
พอใช้  
ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ( IT )
โปรแกรม
ความสามารถ ( ใช้งานได้ )
1. โปรแกรมสำนักงาน
(Word , Excel , Powerpoint , Access)
ดี  
2. โปรแกรม Multimedia
(Cai , Flash , Autoware , etc. )
ไม่ได้เลย  
3. โปรแกรมตัดต่อ VDO , sound , Effect
( Premier , Ulead , Sound Forge , etc. )
พอใช้  
4. โปรแกรมสร้างกราฟิก ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
( photoshop , Illustrator , etc. )
พอใช้  
5. โปรแกรมสร้างเว็บไซต์
( Dreamweawer , Wordpress , CMS ต่างๆ หรืออื่นๆ )
พอใช้  
6. การพัฒนาซอฟต์แวร์
6.1 Window based Application
ไม่ได้เลย  
6.2 Web based Application
ไม่ได้เลย  
6.3 Mobile Application
ดี  
7. ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ชำนาญ
 
8. Database ที่ชำนาญ
 
9. ระบบเครือข่าย ( ติดตั้ง-ซ่อมบำรุง )
9.1 Window
ไม่ได้เลย  
9.2 Linux / Unix
ไม่ได้เลย  
10. การซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์
(เครื่องคอมพิวเตอร์ , ปรินท์เตอร์ , อื่นๆ )
พอใช้  
ความสามารถทางด้านดนตรี
เครื่องดนตรี
ความสามารถ ( ใช้งานได้ )
1. เครื่องดนตรีไทย
(ระนาด , ขลุ่ย , ซอ , พิณ ฯลฯ )
ไม่ได้เลย  
2. เครื่องดนตรีสากล
( เปียโน , คีย์บอร์ด , กีตาร์ ฯลฯ )
ไม่ได้เลย  
ความสามารถทางด้านอื่นๆ
ความสามารถ :
วาดภาพ กีฬา​ แบดมินตัน​ วอลเลยบอล  
เกียรติประวัติ - รางวัลต่างๆ
รางวัล
จากสถาบัน
ปี พ.ศ.ที่ได้รับ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ประวัติการทำงาน
ประสบการณ์การทำงาน :
xxxx ปี 
1 )
ชื่อสถานประกอบการ 1 :
xxxx  
ระยะเวลาเริ่มทำวันแรก :
01-ตุลาคม-2557  
-จนถึงวันสุดท้าย :
15-กรกฎาคม-2558  
ตำแหน่ง 1 :
นักวิชาการฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา  
เงินเดือนสุดท้าย 1 :
15000  
สาเหตุที่ลาออก 1 :
ศึกษาต่อ  
 
2 )
ชื่อสถานประกอบการ 2 :
xxxx  
ระยะเวลาเริ่มทำวันแรก :
07-กุมภาพันธ์-2557  
-จนถึงวันสุดท้าย :
29-กันยายน-2557  
ตำแหน่ง 2 :
 
เงินเดือนสุดท้าย 2 :
12500  
สาเหตุที่ลาออก 2 :
ได้งานราชการ  
 
การฝึกอบรม
หัวข้อ
สถาบัน
ระยะเวลา
xxxx 
xxxx 
xxxx 
xxxx 
xxxx 
xxxx 
xxxx 
xxxx 
xxxx 
xxxx 
xxxx 
xxxx 
บุคคลผู้รับรอง ( อ้างอิงได้ )
ลำดับ
ชื่อ
นามสกุล
ความสัมพันธ์
สถานที่ติดต่อ
เบอร์โทรศัพท์
1
xxxx  
xxxx  
xxxx  
xxxx  
xxxx  
2
xxxx  
xxxx  
xxxx  
xxxx  
xxxx  
3
xxxx  
xxxx  
xxxx  
xxxx  
xxxx  
แสดงความรู้ ความเข้าใจ และทัศนะของท่าน
1)ทัศนคติต่อการศึกษาไทย :
จากผลการปฏิรูปการศึกษา หลังจากการประกาศใช้ พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยประเมินจากคุณภาพภายนอกสถานศึกษา 17,562 แห่งทั่วประเทศ คิดเป็นร้อยละ 49.1 ของโรงเรียนทั้งหมด พบว่า การจัดการเรียนการสอนของครูยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ยังมีคุณภาพอยู่ในระดับร้อยละ 39.2 การจัดกิจกรรมที่กระตุ้นผู้เรียนให้รู้จักคิด วิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ มีคุณภาพอยู่ระดับ ร้อยละ 13.5 และครูสามารถนำผลการประเมินมาปรับการเรียนและเปลี่ยนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพเพียงร้อยละ 21.6 ของสถานศึกษาทั้งหมด การประเมินคุณภาพทางด้านผู้เรียนพบว่า ยังมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนระดับต่ำมากในทุกกลุ่ม โดยเฉพาะความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีวิจารณญาณและความคิดสร้างสรรค์ มีคุณภาพระดับดีเพียงร้อยละ 11.1 และการมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีคุณภาพดีเพียงร้อยละ 26.5 ของสถานศึกษาทั้งหมด จึงพบว่า การศึกษาของไทยกำลังมีปัญหา จะเห็นได้ว่าเป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจจากสังคม สะท้อนถึงความล้มเหลวของการศึกษาในบ้านเรา ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนไทย สะท้อนถึงปรากฏการณ์ความอ่อนแอของทุกภาคส่วน ทั้งสถาบันครอบครัวอ่อนแอ พื้นที่อบายมุขขาดการควบคุม อันเป็นปฐมเหตุของปัญหาพฤติกรรมเด็กและเยาวชน ไม่ว่าเป็นปัญหาติดห้าง เที่ยวกลางคืน กินเหล้า สูบบุหรี่ และมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร อันจะนำไปสู่ผลกระทบกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามมาอย่างมากมาย ครูมัวแต่ไปทำผลงานการประเมินผลงานทางวิชาการ เพื่อเลื่อนวิทยฐานะ ไม่ได้วัดจากความสำเร็จของนักเรียน ทำให้ครูบางคนจึงสนใจที่จะทำผลงานทางวิชาการมากกว่าการสอน จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การศึกษาไทยพัฒนาช้า จากปัญหาที่กล่าวมาในข้างต้น มีทั้งสาเหตุหลักและสาเหตุรองหลายประการที่ทำให้การพัฒนาการศึกษาของไทยยังไปไม่ถึงไหน พัฒนาได้ช้า แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนเห็นว่ายังไม่สายเกินไปที่จะผ่าตัดการศึกษาของไทยให้ดีขึ้น ทั้งนี้การแก้ปัญหาการศึกษาบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือร่วมใจกันทั้งระบบ เริ่มตั้งแต่ผู้ที่จะมากำกับดูแลงานทางด้านการศึกษา รัฐบาลจะต้องแต่งตั้งบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีวิสัยทัศน์ทางด้านการศึกษาจริงๆ มารับผิดชอบ นอกจากนั้นการกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอนจะต้องกำหนดให้มีหัวข้อวิชาคุณธรรม จริยธรรมไว้ในทุกหลังสูตรทุกระดับ จะต้องเพิ่มขวัญและกำลังใจให้กับครู การเลื่อนวิทยฐานะของครูต้องมีความเหมาะสมและเป็นธรรม โดยวัดผลจากความสำเร็จของนักเรียน รัฐบาลต้องมีนโยบายดึงคนดี คนเก่งมาเป็นครู เด็กจะดีหรือชั่วอยู่ที่ครู อีกกิจกรรมหนึ่งที่ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด คือระบบดูแลนักเรียน คือโครงการเยื่ยมบ้านนักเรียน ครูจะเห็นสภาพที่แท้จริงของเด็กนักเรียน และที่สำคัญในส่วนของผู้ปกครอง สื่อมวลชน สถาบันทางศาสนา ต้องแสดงบทบาทและหน้าที่ในการมีส่วนรวมกับการพัฒนาการศึกษาได้ด้วย หากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาตระหนักถึงความสำคัญในบทบาทและหน้าที่และร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจัง​ เชื่อว่าการศึกษาของไทยจะพัฒนาได้เพื่อให้เท่าเทียมประเทศอื่น ๆ  
2)ทัศนคติของท่านต่อสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน :
ในภาวะปัจจุบัน สังคมประสบปัญหาที่เกิดจากการกระทำวัยรุ่น ซึ่งเป็นบุคคลในวัยเรียน เป็นนักเรียนนักศึกษาที่ยังอยู่ในการอุปการะเลี้ยงดูของบิดามารดาและผู้ปกครอง ได้มีพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์ของสังคม อาทิ เช่น - การทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย - การดื่ม และเสพของมึนเมา เสพสิ่งเสพย์ติด - การมีพฤติกรรมทางเพศก่อนวัยอันสมควร - การมีพฤติกรรมทางเพศที่ฟุ่มเฟือย ไม่เลือกคู่ - การขายบริการทางเพศ - การก่อกวนสร้างความเดือดร้อนให้สังคมหลายรูปแบบ - บิดามารดาและผู้ปกครอง ปกครองบุตรหลานไม่ได้ ทุกปัญหาที่กล่าวมาล้วนเป็นปัญหาของสังคมอยู่ในระดับที่เรียกว่า “ วาระแห่งชาติ ” ซึ่งทุกคนในสังคมต้องร่วมมือกันแก้ไข เพื่อให้ปัญหาลดน้อยลงหรือหมดไป องค์กรที่สำคัญที่สุดซึ่งใกล้ชิดเยาวชนมากที่สุด ได้แก่ ครอบครัวของเยาวชนและสถานศึกษาที่เยาวชนศึกษาอยู่ ซึ่งมีหน้าที่ให้การศึกษา อบรมบ่มนิสัย ประคับประคอง อุ้มชู ให้ความรัก ความอบอุ่น ตลอดจนความเอื้ออาทร ซึ่งมีอิทธิพลต่อการกระทำและพฤติกรรมของเยาวชนในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านบวกและด้านลบ​ นักเรียนมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไม่พึงประสงค์นั้นเกิดจากการเลี้ยงดูเบื้องต้นเกือบทั้งสิ้น เช่น - การให้ความรักและให้ทุกอย่าง รวมถึงการตามใจจนไร้ขอบเขต - การดุด่าไม่ยอมรับฟังอย่างไรเหตุผล - การทอดทิ้งให้อยู่โดยลำพัง - การให้เงินและเครื่องอำนวยความสะดวกมากเกินไป - การปกป้องเข้าข้างอย่างผิด ๆ ของพ่อแม่ ผู้ปกครอง - การยอมให้กระทำในสิ่งที่ผิดๆ และการกระทำบางอย่างก่อนวัยอันสมควร - การกระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสมของบิดามารดา และผู้ปกครองให้เยาวชนดู นอกจากวัฒนธรรมการเลี้ยงดูอย่างผิดๆ จากครอบครัวมีอิทธิพลต่อเยาวชนแล้ว การสอนและการอบรมบ่มนิสัยของครูอาจารย์ก็มีส่วนสำคัญไม่น้อยต่อพฤติกรรมของเยาวชน เช่น - ครู เปลี่ยนจากการเป็นครูเป็นผู้ให้ความรู้ - ครู เอาใจใส่นักเรียนซึ่งเป็นศิษย์น้อยเกินไป - ครู ไม่ยอมแก้ไขสิ่งที่นักเรียนกระทำผิด - ครู ไม่กระทำตนเป็นแบบอย่างที่ดีของศิษย์ - ครู ปล่อยภาระการแก้ไขพฤติกรรม และปกครองนักเรียนให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายปกครองเพียงฝ่ายเดียว - ครู ไม่สามารถลงโทษนักเรียนแบบครู และศิษย์เหมือนในอดีต - ครู ปกครองศิษย์ไม่ได้ สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นสาเหตุสำคัญต่อพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนของเยาวชนทั้งสิ้น องค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างบุคลกรที่เข้มแข็งให้บ้านเมืองทุกฝ่าย ซึ่งหมายถึง ครอบครัว สถานศึกษา ผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ซึ่งเป็นกำหนดนโยบายทั้งในการศึกษาเล่าเรียน และการปกครองนักเรียนหรือเยาวชนต้องหันกลับมาทบทวนการเลี้ยงดู การให้การศึกษาและการอบรมบ่มนิสัย การให้ความรับผิดชอบและการให้รางวัล การลงโทษเยาวชนของไทยใหม่ดีไหมครับ เพื่อสังคมไทยจะได้มีบุคลากรที่มีความเข้มแข็งทั้งด้านระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ความสามารถมาพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ให้สามารถแข่งขันกับนานาชาติบนเวทีโลกอย่างสง่างามต่อไป  
3)กัลยาณมิตรและโยนิโสมนสิการกับการศึกษา :
ความเป็นกัลยาณมิตรของครู ช่วยสร้างสรรค์บรรยากาศการเรียนรู้ในชั้นเรียน ครูที่ประสบผลสำเร็จในการสอน มีพื้นฐานแห่งวัตรปฏิบัติที่เป็นกัลยาณมิตรต่อผู้เรียน กัลยาณมิตรธรรมสำหรับครูเป็นไปหลักธรรมความเป็นกัลยาณมิตร 7 ประการ ( พจนานุกรมพุทธศาสตร์ , 2528 อ้างถึงในสุมน อมรวิวัฒน์ , 2547) มีดังนี้ 1.ปิโย มีความน่ารักด้วยการเปิดเผย เด็กรู้สึกสบายใจอบอุ่นสนิทสนม ชวนให้เข้าไปถามไปปรึกษา เป็นที่ไว้วางใจ 2. ครุ มีความน่าเคารพด้วยการประพฤติ สมควรแก่ฐานะเด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งได้ปลอดภัย 3.ภาวนีโยมีความน่ายกย่องด้วยความเป็นผู้รอบรู้ ทรงภูมิปัญญาที่แท้จริง รวมทั้งปรับปรุงตนเอง เป็นที่เอาอย่าง ทำให้เด็กได้ระลึกถึง ได้เอ่ยอ้างถึงด้วยความภูมิใจ 4.วัตตาจะ รู้จักพูดให้เหตุผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจให้คำแนะนำ ว่ากล่าวตักเตือนเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดี 5.วจนักขโม อดทนต่อถ้อยคำพร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษา ซักถามคำเสนอแนะข้อวิพากษ์วิจารณ์อดทนฟังได้ไม่เบื่อ ไม่ฉุนเฉียว เป็นผู้ใจกว้างเปิดใจยอมรับความคิดเห็น 6. คัมภีรัญจะกถังกัตตาแถลงเรื่องล้ำลึกได้สามารถอธิบาย เรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป สามารถอธิบายให้ความกระจ่างได้ 7.โนจัฏฐาเนนิโยชเยไม่แนะนำ ในเรื่องเหลวไหลชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย เป็นแบบอย่างที่ดีเป็นตัวแบบที่ดี ในการประพฤติปฏิบัติ ความเป็นกัลยาณมิตรของครู สนองธรรมชาติ ความต้องการของเด็กได้ตามทฤษฎีมนุษยนิยม ของมาสโลว์​(Maslow,1987อ้างถึงในสุรางค์โค้วตระกูล,2541) ช่วยให้เด็กจะได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ตนเองต้องการ 1. เด็กมีความสุข สะดวกสบายในการเรียน -ครูใจดี บรรยากาศการเรียนมีความสุข ไม่อึดอัด 2. เด็กรู้สึกปลอดภัย อบอุ่น -ครูให้ความมั่นใจ เอาใจใส่ดูแล ให้ความรักความเมตตา 3. เด็กได้ความรัก ความเอาใจใส่จากครู - ครูใช้คำพูดเสริมแรง ให้กำลังใจ ชื่มชมยกย่องเมื่อทำงานสำเร็จ เปิดใจกว้างยอมรับฟังเหตุผลของนักเรียนทุกคน 4. เด็กได้รับความภาคภูมิใจ ชื่นชมในตนเอง - ครูจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนได้พบกับความสำเร็จตามความสามารถของตนเอง หาวิธีการนำส่วนที่ดีของแต่ละคนมาใช้ประโยชน์ ในการทำงานกลุ่ม 5. เด็กได้ทำในสิ่งที่ตนเองปรารณาสูงสุด -ครูให้อิสระในการเรียนรู้การสร้างสรรค์ผลงานในระบบกลุ่มร่วมมือทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ทุกคนมีความสำคัญ ได้รับการยอมรับในคุณค่าของตนเอง ชีวิตในโรงเรียน ในชั้นเรียนของเด็กเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน หากการเรียนรู้อบอวลไปด้วยบรรยากาศแห่งความเป็นกัลยาณมิตร การเรียนมีลักษณะช่วยเหลือพึ่งพา มากกว่าการแข่งขัน ชิงดีชิงเด่น มีครู มีเพื่อนที่เข้าใจ รู้ใจ ไว้วางใจ ใกล้ชิด สนิทสนม คุ้นเคย ย่อมรับรู้ถึงความอบอุ่น ปลอดภัย จิตใจเบิกบาน เรียนรู้ที่มีความสุข