SchoolJob News&Talk สคูลจ๊อบ ข่าวสารสนทนา
ประกาศรับสมัครงานหลายวันแล้ว แต่ไม่มีใครมาสมัครทำงานด้วยเลย
ประกาศรับสมัครงานหลายวันแล้ว แต่ไม่เห็นมีใครมาสมัครทำงานด้วยเลย
 
เมื่อประกาศรับสมัครงานแล้ว รอเกิน 2 สัปดาห์แล้ว แต่ก็ไม่เห็นมีคนทำงานคนใดมาสมัครงานในตำแหน่งที่ประกาศรับนั้นเลย เพราะอะไร จะทำอย่างไรดี โรงเรียน/สถาบัน/บริษัท อาจต้องพิจารณาดังนี้
 
1. ไม่ระบุเงินเดือนให้ชัดเจน 
ข้อมูลตำแหน่งงานที่ประกาศต้องชัดเจน ตำแหน่งอะไร เงินเดือนเท่าไหร่  การระบุให้ชัดไปเลยว่า ตำแหน่งนี้ โรงเรียนพร้อมให้เงินเดือนเท่าไหร่ จะกี่หมื่นกี่พันก็ระบุไปเลย จะดึงดูดคนทำงานได้ง่ายและคนหางานตัดสินใจได้ง่ายกว่า  การประกาศเงินเดือนว่า "ตามตกลง/ตามวุฒิการศึกษา" บางทีคนหางานก็อาจมองข้ามประกาศนี้ไปก็ได้  เพราะเขารู้ว่า ไม่แน่นอน 
 
2. ไม่มีรายละเอียดงาน/Job Descritption มากเพียงพอ 
ประกาศรับสมัครงานหลายประกาศ ไม่บอกรายละเอียดว่า ตำแหน่งงานนี้จะให้ทำอะไรบ้าง ตรงนี้อาจทำให้คนหางานเกิดความลังเลใจได้  การปล่อยโล่ง ๆ  ไว้  คนหางานก็อาจจะคิดมาก อาจคิดเดาไปว่า โรงเรียนคงจะให้ทำหลายหน้าที่หลายงานจนหวั่นใจว่า ตัวเองอาจไม่มีความสามารถมากพอ ดังนั้น โรงเรียนควรเขียนบอกให้ชัดเจนว่า ตำแหน่งที่ประกาศรับสมัครนี้ เมื่อเข้ามาทำงานแล้ว จะต้องทำอะไรบ้าง ขอบเขตแค่ไหน 
 
 
3. กำหนดคุณสมบัติผู้สมัครงานที่ต้องการไว้สูงมากเกินไป 
บัณฑิตจบใหม่ คนหางานหลาย ๆ คนไม่มีคุณสมบัติตามตำแหน่งที่ประกาศรับ  จึงไม่กล้าสมัครงานด้วย เพราะคิดว่า สมัครไปโรงเรียนก็คงไม่รับพิจารณา  จุดนี้ โรงเรียนอาจต้องชั่งน้ำหนักเช่นกันว่า คุณสมบัติแบบไหนที่โรงเรียนพอรับได้ ไม่สูงเกินไป โดยพิจารณาจากประสบการณ์เดิม ครูใหม่ ๆ ที่โรงเรียนรับเข้ามาทำงาน เขาสามารถทำงานได้เลยจริงไหม หรือว่า แท้จริงแล้ว ต้องจัดอบรมก่อนทำงานอยู่ดี ซึ่งส่วนมากมักเป็นกรณีหลัง เพราะคนหางานก็ยังใหม่ เพิ่งจบใหม่ คุณสมบัติบางด้านอาจยังด้อยอยู่ (แต่ก็อาจะสามารถพัฒนาเพิ่มพูนขึ้นได้ ถ้ามีโอกาส) ยังขาดทักษะ และอาจไม่เข้าใจแนวโรงเรียนดีพอ  กรณีแบบนี้ โรงเรียนอาจลดคุณสมบัติลงบ้างแล้ว แล้วพัฒนาเขาเหล่านั้นอีกที  ทำแบบนี้ก็จะมีโอกาสได้คนมาทำงานที่โรงเรียนได้ง่ายขึ้น
 
 
4. ไม่บอกสวัสดิการ สิ่งที่เป็นประโยชน์ หรือโอกาสก้าวหน้าต่าง ๆ ที่ผู้สมัครงานจะได้รับ 
 
ข้อมูลตรงนี้ มีส่วนจูงใจคนหางานได้มากเช่นกัน โรงเรียนควรระบุให้ชัดว่า เมื่อไปทำงานกับโรงเรียนแล้ว เขาจะได้อะไรเพิ่มเติมบ้าง (นอกเหนือจากเงินค่าจ้างรายเดือน) เช่น เงินสอนพิเศษ โบนัสประจำปี  การได้สิทธิเข้าอบรมหลักสูตรพัฒนาศักยภาพต่าง ๆ  ทุนการศึกษาต่อ  การไปศึกษาอบรมต่างประเทศ  เงินทุนช่วยเหลือพิเศษเมื่อคลอดบุตร  ส่วนลดพิเศษเมื่อนำบุตรเข้าเรียนที่โรงเรียน ฯลฯ 
 
5. ไม่มีสัญญาจ้างที่ชัดเจนเพียงพอ 
 
เมื่อมีการตกลงรับคนเข้าทำงาน บางโรงเรียนไม่ได้ทำสัญญาจ้างงานที่ชัดเจน จึงอาจเกิดความไม่เข้าใจระหว่างกันได้ เพราะความไม่ชัดเจนแน่นอน  ผลสุดท้าย เมื่อครูคนนั้นออกจากโรงเรียนไป  ก็นำความรู้สึก/ความเข้าใจแบบนั้นไปพูดต่อ ๆ ไป ทำให้มีปัญหาต่อภาพลักษณ์โรงเรียน  สิ่งนี้ก็อาจมีผลทำให้คนหางานรุ่นต่อ ๆ มา (ที่ทราบข้อมูลจากรุ่นพี่ ๆ หรือสื่อออนไลน์ต่าง ๆ) ทำให้ไม่อยากไปสมัครทำงานกับโรงเรียน 
 
สำหรับโรงเรียนที่มีมาตรฐานสูง ผู้บริหารจะไม่ละเลยเรื่องสัญญาจ้างงานระหว่างโรงเรียนกับคนหางาน  คือจะต้องมีการทำสัญญาจ้างงานที่ชัดเจนไว้เสมอ ตัวอย่างสัญญาจ้างงาน หากมีการเปิดเผยให้คนหางานดูได้ด้วยในวันสัมภาษณ์ ยิ่งเพิ่มความมั่นใจให้คนหางานยิ่งขึ้นว่าโรงเรียนมีมาตรฐานที่ดี  
 
ในกิจการสมัยใหม่ ไม่ว่าจะทำงานระยะสั้น-ยาวแค่ไหนก็ตาม สัญญาจ้างงานต้องมี  ในสัญญาควรระบุชัดเจนในสิ่งเหล่านี้ เช่น ข้อกำหนดและเงื่อนไขต่าง ๆ ของโรงเรียนที่คนทำงานต้องยอมรับ,  ว่าจ้างบุคคลนั้น ๆ ในตำแหน่งอะไร, มีหน้าที่ความรับผิดชอบอะไรบ้าง, มีระยะเวลาทดลองงานนานเท่าไหร่, เข้า-ออกงานวันใดบ้าง, หากต้องทำงานนอกเวลา มีค่าตอบแทนไหมเท่าไหร่/ไม่มี, ระหว่างทดลองงานมีสิทธิหยุด/ลาได้กี่วัน, เกณฑ์การประเมินการทำงานว่าจะผ่านหรือไม่ผ่านมีเกณฑ์อะไรบ้าง, เงินเดือนและค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่จะได้รับ-เท่าไหร่, และถ้าหากโรงเรียนมีการหักเงินเป็นค่าประกันหรือค่าอะไรอื่น ๆ ก็จะมีระบุไว้ในสัญญาอย่างชัดเจนว่า หักค่าอะไร หักกี่เปอร์เซ็นของเงินเดือน และจะคืนเงินดังกล่าวให้คนหางานเมื่อไหร่ เวลาใด ฯลฯ ข้อมูลจำเป็นเหล่านี้ ควรมีการบอกไว้อย่างครบถ้วน เพื่อความสบายใจและความเข้าใจร่วมกันของทั้งโรงเรียนและคนหางาน    
 
6. บรรยากาศ/สภาพแวดล้อมของโรงเรียน ก็มีส่วนกับการตัดสินใจไปทำงานของคนหางาน  
 
เรื่องสภาพแวดล้อม อาคาร สถานที่ บางทีก็ยากจะให้ถูกใจคนหางานได้  แต่สำหรับบรรยากาศภายในโรงเรียนแล้ว คณะผู้บริหาร เพื่อนครู และบุคลากรของโรงเรียนสามารถสร้างขึ้นร่วมกันได้  บรรยากาศในโรงเรียนจะเป็นอย่างไรอยู่ที่ผู้บริหารนั่นเองเอาใจใส่เพียงใด  ความเล็ก แคบ หรือใหญ่โตของสถานที่ บางทีก็อาจไม่ใช่สิ่งสำคัญนัก เพราะโรงเรียนเล็ก ๆ สถานที่ธรรมดา ๆ  แต่บรรยากาศน่ารัก จริงใจ เป็นกันเอง มีน้ำใจ คนหางานมากมายก็ชอบจะไปสมัครทำงานด้วย  
 
เชื่อว่า เรื่องแบบนี้ เป็นสิ่งที่ผู้บริหารโรงเรียนตระหนักดีอยู่แล้วว่า ทำอย่างไร โรงเรียนจึงจะมีสภาพแวดล้อมและบรรยากาศน่าสนใจและดึงดูดให้คนมาทำงานกับโรงเรียนและอยู่ทำงานกับโรงเรียนไปนาน ๆ  โรงเรียนสมัยใหม่ต้องพิจารณาเช่นกันว่า การบริหารงานโรงเรียนแบบเดิม ๆ แบบตามความเคยชินสมัยรุ่นปู่ย่า  อาจไม่เหมาะกับโลกสมัยใหม่ที่นับวันจะมีคู่แข่งหน้าใหม่ ๆ จากต่างประเทศมาเปิดโรงเรียนแข่งเพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี  ก็เป็นได้
เมื่อประกาศรับสมัครงานเกิน 2 สัปดาห์ไปแล้ว แต่ไม่เห็นมีคนทำงานคนใดมาสมัครงานในตำแหน่งที่ประกาศรับนั้นเลย เพราะอะไร จะทำอย่างไรดี  โรงเรียน/สถาบัน/บริษัท อาจต้องพิจารณาดังนี้
 
1. ไม่ระบุเงินเดือนให้ชัดเจน 
 
ในการประกาศรับสมัครงานนั้น  การระบุจำนวนเงินเดือนให้ชัดไปเลยว่า ตำแหน่งนี้ โรงเรียนพร้อมให้เงินเดือนเท่าไหร่ กี่หมื่นกี่พัน ย่อมจะดึงดูดคนทำงานได้ง่าย และคนหางานจะตัดสินใจได้ง่ายกว่าการประกาศรับสมัครงานโดยระบุว่า "เงินเดือนตามตกลง/ตามวุฒิการศึกษา"  เมื่อเห็นประกาศรับสมัครงานแบบนี้ บางทีคนหางานก็อาจมองข้ามประกาศนี้ไปก็ได้  เพราะเขารู้สึกว่า ไม่แน่นอน ต้องคุยและตกลงกันหลายรอบแน่ ๆ   

อย่างไรก็ตาม การระบุจำนวนเงินเดือนนี้มีทั้งแง่บวกและแง่ลบ และเป็นสิทธิของโรงเรียนที่ไม่ต้องการเปิดเผยอัตราเงินเดือนให้ใครอื่นทราบ แต่ก็อย่างที่บอก คนหางานมักตัดสินใจได้ง่ายเมื่อเห็นตัวเลขจำนวนเงินเดือนในตำแหน่งที่ประกาศรับ  แต่ก็ไม่เสมอไป  เพราะคนหางานหลายคนก็ชอบที่จะไปสัมภาษณ์และตกลงขอเงินเดือนกับโรงเรียนโดยตรงด้วยตัวเองมากกว่า ลองชั่งตรองแล้วเลือกเอาเอง แบบไหนเหมาะสำหรับโรงเรียนของท่าน
 
2. ไม่มีรายละเอียดงานเพียงพอ/ไม่มี Job Description 
 
ประกาศรับสมัครงานหลายประกาศ ไม่บอกรายละเอียดงานว่า ตำแหน่งงานนี้จะให้ทำอะไรบ้าง ต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง ตรงนี้อาจทำให้คนหางานเกิดความลังเลใจได้  อาจจะคิดมากและอาจคิดเดาไปว่า โรงเรียนคงจะให้ทำงานหลายหน้าที่จนหวั่นใจว่า ตัวเองอาจจะไม่มีความสามารถมากพอ ดังนั้น โรงเรียนควรเขียนบอกให้ชัดเจนไปเลยว่า ตำแหน่งที่ประกาศรับสมัครนี้ เมื่อเข้ามาทำงานแล้ว จะต้องทำอะไรบ้าง ขอบเขตงานแค่ไหน 
 
 
3. กำหนดคุณสมบัติผู้สมัครงานที่ต้องการไว้สูงเกินไป 
 
บัณฑิตจบใหม่ คนหางานหลาย ๆ คนไม่มีคุณสมบัติตามตำแหน่งที่ประกาศรับ  จึงไม่กล้าสมัครงานด้วย เพราะคิดว่า สมัครไปโรงเรียนก็คงไม่รับพิจารณา  จุดนี้ โรงเรียนอาจต้องชั่งน้ำหนักเช่นกันว่า คุณสมบัติแบบไหนที่โรงเรียนพอรับได้ ไม่สูงเกินไป โดยพิจารณาจากประสบการณ์เดิมที่เคยรับครูใหม่ ๆ ผ่านมา ครูจบใหม่ ๆ ที่โรงเรียนรับเข้ามาทำงาน เขาสามารถทำงานได้เลยจริงไหม หรือว่า แท้จริงแล้ว โรงเรียนต้องจัดอบรมเข้มก่อนทำงานอยู่ดี ซึ่งส่วนมากมักเป็นกรณีหลัง เพราะคนหางานก็ยังใหม่ เพิ่งเรียนจบ คุณสมบัติบางด้านอาจยังด้อยอยู่ (แต่ก็สามารถพัฒนาเพิ่มพูนขึ้นได้ ถ้ามีโอกาสและเวลามากพอ) ยังขาดทักษะในบางด้าน และอาจไม่เข้าใจแนวของโรงเรียนดีพอ  กรณีแบบนี้ โรงเรียนอาจลดคุณสมบัติลงบ้างแล้วจัดโปรแกรมพัฒนาเขาเหล่านั้นอีกที  ทำแบบนี้ก็จะมีโอกาสได้คนมาทำงานที่โรงเรียนได้ง่ายขึ้น
 
 
4. ไม่บอกสวัสดิการ สิ่งที่เป็นประโยชน์ หรือโอกาสก้าวหน้าต่าง ๆ ที่ผู้สมัครงานจะได้รับ 
 
ข้อมูลตรงนี้ มีส่วนจูงใจคนหางานได้มากเช่นกัน โรงเรียนควรระบุให้ชัดไปเลยว่า เมื่อไปทำงานกับโรงเรียนแล้ว เขาจะได้อะไรเพิ่มเติมบ้าง (นอกเหนือจากเงินค่าจ้างรายเดือน) ถ้าโรงเรียนมี เช่น เงินสอนพิเศษ โบนัสประจำปี  โอกาสในการเข้าอบรมหลักสูตรพัฒนาศักยภาพต่าง ๆ  ประกันต่าง ๆ  ทุนการศึกษาต่อ  การไปศึกษาอบรมต่างประเทศ  เงินทุนช่วยเหลือพิเศษเมื่อคลอดบุตร  ส่วนลดพิเศษเมื่อนำบุตรเข้าเรียนที่โรงเรียน มีรถรับ-ส่ง  มีที่พักปลอดภัยและราคาถูกในโรงเรียน/ใกล้โรงเรียน (ถ้ามี) ฯลฯ 
 
5. ไม่มีสัญญาจ้างงานที่ชัดเจนเพียงพอ 
 
เมื่อมีการตกลงรับคนเข้าทำงาน บางโรงเรียนไม่ได้ทำสัญญาจ้างงานที่ชัดเจน จึงอาจเกิดปัญหาความไม่เข้าใจระหว่างกันได้ เพราะความไม่ชัดเจนตั้งแต่แรกนั่นเอง  ผลสุดท้าย เมื่อครูคนนั้นออกจากโรงเรียนไป (ไม่ว่ากรณีใด ๆ )  ก็อาจนำความรู้สึก/ความเข้าใจแบบนั้นไปพูดต่อ ๆ ไป และทำให้มีปัญหาต่อภาพลักษณ์ของโรงเรียนได้  สิ่งนี้ก็อาจมีผลทำให้คนหางานรุ่นต่อ ๆ มา (ที่ทราบข้อมูลจากรุ่นพี่ ๆ หรือจากสื่อออนไลน์ต่าง ๆ) ทำให้ไม่อยากไปสมัครทำงานกับโรงเรียนแห่งนั้น ๆ  
 
สำหรับโรงเรียนที่มีมาตรฐาน ผู้บริหารจะไม่ละเลยเรื่องสัญญาจ้างงานระหว่างโรงเรียนกับคนทำงาน  คือจะต้องมีการทำสัญญาจ้างงานที่ชัดเจนไว้เสมอ และถ้าโรงเรียนเปิดเผยสัญญาจ้างงานให้คนหางานดูด้วยในวันสัมภาษณ์ ยิ่งเพิ่มความมั่นใจให้คนหางานได้ดียิ่งขึ้นว่าโรงเรียนมีมาตรฐานที่ดี  ทำงานด้วยแล้วไม่มีปัญหาแน่นอน (เว้นแต่ตัวคนทำงานจะสร้างปัญหาขึ้นมาเสียเอง) 
 
กิจการสมัยใหม่ ไม่ว่าจะทำงานระยะสั้นหรือยาวแค่ไหนก็ตาม สัญญาจ้างงานต้องมีเสมอ  ในสัญญาจ้างงานนั้น ควรระบุอย่างชัดเจนถึงสิ่งเหล่านี้ เช่น ข้อกำหนดและเงื่อนไขต่าง ๆ ของโรงเรียนที่คนทำงานต้องยอมรับ จึงตกลงเข้าทำงาน,  ว่าจ้างบุคคลนั้น ๆ ในตำแหน่งอะไร, มีหน้าที่ความรับผิดชอบอะไรบ้าง, มีระยะเวลาทดลองงานนานเท่าไหร่, เข้า-ออกงานวันใดบ้าง, หากต้องทำงานนอกเวลา มีค่าตอบแทนไหมเท่าไหร่/ไม่มี, ระหว่างทดลองงานมีสิทธิหยุด/ลาได้กี่วัน, เกณฑ์การประเมินการทำงานว่าจะผ่านหรือไม่ผ่านมีเกณฑ์อะไรบ้าง, เงินเดือนและค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่จะได้รับ-เท่าไหร่, และถ้าหากโรงเรียนมีการหักเงินเป็นค่าประกันหรือค่าอะไรอื่น ๆ ก็จะมีระบุไว้ในสัญญาอย่างชัดเจนว่า หักค่าอะไร หักกี่เปอร์เซ็นของเงินเดือน และจะคืนเงินดังกล่าวให้คนหางานเมื่อไหร่ เวลาใด ฯลฯ

ข้อมูลเหล่านี้ ควรมีการระบุไว้อย่างครบถ้วน เพื่อความสบายใจและความเข้าใจร่วมกันของทั้งโรงเรียนและคนทำงาน    
 
6. บรรยากาศ/สภาพแวดล้อมของโรงเรียน มีส่วนต่อการตัดสินใจไปทำงาน  
 
เรื่องสภาพแวดล้อม อาคาร สถานที่ บางทีก็ยากจะให้ถูกใจคนหางานได้ทุกคนทุกเรื่อง  แต่คนที่ต้องการทำงานจริง ๆ แล้ว บางทีก็ไม่ได้สนใจเรื่องนี้มากนัก แต่สำหรับบรรยากาศภายในโรงเรียนแล้ว คณะผู้บริหาร เพื่อนครู และบุคลากรของโรงเรียนสามารถร่วมกันสร้างขึ้นได้  บรรยากาศในโรงเรียนจะเป็นอย่างไรอยู่ที่ผู้บริหารโรงเรียนเป็นสำคัญว่าเอาใจใส่มากน้อยเพียงใดมีความละเอียดเพียงใด   ความเล็ก แคบ หรือใหญ่โตของสถานที่ทำงาน บางทีก็อาจไม่ใช่สิ่งสำคัญอะไรนักสำหรับคนหางาน เพราะโรงเรียนเล็ก ๆ สถานที่ธรรมดา ๆ  แต่บรรยากาศน่ารัก จริงใจ เป็นกันเอง มีน้ำใจ คนหางานมากมายก็ชอบจะไปสมัครทำงานด้วย  
 
เชื่อว่า เรื่องแบบนี้ ผู้บริหารโรงเรียนคงตระหนักดีอยู่แล้วว่า ทำอย่างไร โรงเรียนจึงจะมีสภาพแวดล้อมและบรรยากาศน่าสนใจและดึงดูดให้คนมาทำงานกับโรงเรียนและอยู่ทำงานกับโรงเรียนไปนาน ๆ  

ทีมงานสคูลจ๊อบ เชื่อว่าเรื่องดังที่กล่าวมานี้ น่าจะพอเป็นคำตอบได้ว่า  ทำไมประกาศรับสมัครงานไปแล้ว จึงไม่มีใครมาสมัครทำงานกับโรงเรียนสักที  ลองพิจารณาเทียบเคียงดู น่าจะมีประโยชน์อยู่บ้าง 
เขียนเมื่อ : 27-เมษายน-2560 เปิดอ่าน : 7271
ข่าวสารสนทนา เป็นลิขสิทธิ์ของ SchoolJob หากต้องการคัดลอกไปเผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ก่อนเสมอ
 
 
SchoolJob News&Talk สคูลจ๊อบ ข่าวสารสนทนาอื่นๆ
สมัครงาน ให้ได้งาน (2783)
โรงเรียนโทรมานัดสัมภาษณ์แล้ว ดีใจจัง (5705)
ไปสัมภาษณ์งานโรงเรียนอย่างมั่นใจ (25606)
สมัครงานจับฉ่าย สมัครดะทุกตำแหน่ง (2563)
อีเมล์นัดสัมภาษณ์งาน ไปอยู่กล่องเมล์ขยะ (3745)
สมาชิก SchoolJob ลืมรหัสผ่าน ทำไงดี (3259)
ใส่ใจสถานที่นัดสัมภาษณ์งาน (2548)
ปรับปรุงข้อมูลส่วนตัวให้ทันสมัยอยู่เสมอ (3614)
ทุกคำพูดจากคุณ มีคุณค่าสำหรับเราเสมอ (3085)
เราภูมิใจที่ได้รับโอกาสพัฒนาเว็บไซต์เหล่านี้ (3125)
สมัครงานโรงเรียน ขอเงินเดือนเท่าไหร่ดี (15640)
โรงเรียนต้องการครูแบบใด ต้องการคนแบบไหนมาทำงานโรงเรียน (4201)
สอนพิเศษในโรงเรียนกวดวิชา ไม่ใช่เรื่องเสียหาย (5842)
เพิ่มโลโก้ ทำให้ประกาศรับสมัครงานโดดเด่นขึ้น (3964)
เว็บไซต์ที่ครูควรเข้าเยี่ยมชมบ่อย ๆ (7095)
ประกาศรับสมัครงานที่ SchoolJob ดีอย่างไร (8172)
เขียนประกาศรับสมัครงานให้ชัดเจน คนหางานจะสมัครทำงานกับท่านจนเลือกรับแทบไม่ไหว (14690)
อัตราค่าสมัครเป็นสมาชิก สำหรับสถานศึกษา (18124)
โรงเรียนนัดสัมภาษณ์แล้ว แต่ไปตามนัดไม่ได้ (11563)
แอป SchoolJob เปิดให้ใช้งานแล้ว (5726)
8 คุณสมบัติคนทำงานที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตเร็ว (5008)
SchoolJob เรื่องครู ที่เดียวจบ (2304)
สคูลจ๊อบ เพิ่ม SSL ในการเชื่อมต่อเพื่อความปลอดภัยสูงสุด (1708)
ฝากใบสมัครงานแล้ว แต่ไม่ได้งานทำสักที (3535)
ประกาศรับสมัครงานหลายวันแล้ว แต่ไม่มีใครมาสมัครทำงานด้วยเลย (7271)
โรงเรียนจำเป็นต้องมีเว็บไซต์ และ Facebook ไหม ? (825)
สคูลจ๊อบ ขอมอบกำลังใจแด่สถาบันการศึกษา ในภาวะการระบาดของไวรัส COVID-19 (1)
1